วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21


การเปลี่ยนแปลงการศึกษาในศตวรรษที่ 21
          โลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง  เป้าหมายของ การเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนได้  อีกทั้งนักเรียนในศตวรรษใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกหนแห่งทั้ง ในสิ่งแวดล้อมและในอินเทอร์เน็ต  หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับกระบวนทัศน์เดิมคือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะ ไม่ทันสถานการณ์โลก ที่ควรทำคือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ ตลอดชีวิต เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ที่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีวิตและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
         
ระบบการศึกษาใหม่ในศตวรรษที่  21  ซึ่งเป็นยุคไฮเทคมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ  มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน  ตัวอย่างเช่นรัฐบาลได้มีการนำ Tablet  เข้ามาใช้ในการเรียน  โดยมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับการใช้ Tablet อย่างเหมาะสม  ซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในขณะนี้
       
          จากหลักสูตรแกนกลางปีพ.ศ.
2551
เน้นสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้านคือ  เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิตและการใช้เทคโนโลยี  ซึ่งมีความแตกต่างกันจากการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพียงเล็กน้อยคือ การศึกษาในศตวรรษที่ 21  เน้นการให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้ชีวิต แก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี ตลอดจนการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ และมีความสามารถในการสื่อสารมากขึ้น  จากการศึกษาข้อมูลคิดว่าสมรรถนะของผู้เรียนกับโมเดลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์กัน อยู่ 3 คู่ ได้แก่
          - ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี กับ ICT Literacy
          - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กับ Life Skills
          - ความสามารถในการคิด กับ Learning and Thinking Skills
และมีความแตกต่างกันอยู่ 2 คู่ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา
กับ Core Subject 21st Century Content
          สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน มีความสอดคล้องอยู่ 3 ด้าน ซึ่งไปแตกในเรื่องของทักษะชีวิต ให้เป็นทักษะย่อย คือ การสื่อสาร และการแก้ปัญหา ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต แต่แยกให้เห็นความสำคัญมากขึ้นสอดคล้องกับปัญหาของประเทศชาติ
          ในศตวรรษที่
21 นี้  ได้มีนักการศึกษาได้สรุปเกี่ยวกับการบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนในส่วนที่สำคัญไว้ 3 ส่วนซึ่งได้แก่  การออกแบบ(Design)  เครื่องมือ(Tool)  และการจัดการ(Management)
         
1. การออกแบบ(Design)
          การออกแบบ  ซึ่งหมายถึง  การออกแบบรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนว่าจะเลือกใช้วิธีการสอนแบบใด  เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21  โดยผู้สอนจะต้องออกแบบการสอนคำนึงถึงหลายๆด้านซึ่งได้แก่
               1.1 หลักสูตร  ซึ่งแน่นอนว่า  การเรียนแบบใหม่ย่อมต้องมีการปรับปรุงในแบบใหม่  ให้มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด  และการเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยี  จะต้องมีการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมะสม  และต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้ด้วยว่า  หลักสูตรที่ได้ปรับใหม่นั้น  จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด
              
1.2 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  ผู้สอนเองต้องคำนึงถึงผู้เรียนว่า  จะออกแบบการเรียนอย่างไร  จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน   ชี้แนะให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในอนาคต  ซึ่งการฝึกให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดจะทำให้ผู้เรียนทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน  มีระบบ  และเกิดเป้าหมายในตัวผู้เรียนเอง  ถ้าผู้เรียนสร้างเป้าหมายและประสบความสำเร็จ  ก็จะเกิดการพัฒนาคุณภาพในตัวของผู้เรียนเองและเป็นผลดีในอนาคตด้วย
              
1.3 Back word  Design  ในศตวรรษที่  21  การตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียน  จะเป็นในรูปแบบของการย้อนกลับ  กล่าวคือ  ผู้สอนต้องศึกษาดูผลของการเรียนก่อน  หรือดูความต้องการของผู้เรียนว่าต้องการเรียนอะไร  เรียนลักษณะไหน  การเขียนวัตถุประสงค์การเรียนแบบย้อนกลับ  จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น  เพราะเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการนั่นเอง
              
1.4 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 
(Project-Based Instruction)  รูปแบบการเรียนแบบนี้  จะทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดเป็นขั้นตอน  มีการสืบสอบหาความจริง (process of inquiry) ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการคิดขั้นสูง  และในการเรียนแบบนี้  ผู้เรียนจะได้การฝึกการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นการพัฒนาไปสู่การเข้าร่วมสังคมอีกด้วย
         
     1.5 การประเมินตามสภาพจริง  ผู้สอนต้องสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะเรียน  หรือในระหว่างที่ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน  ว่าผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนแค่ไหน  เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงและออกแบบการเรียนการสอนให้น่าสนใจขึ้น
              
1.6 การออกแบบสื่อเทคโนโลยี  ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาเข้ามาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย  ในการออกแบบสื่อเทคโนโลยีควรออกแบบให้มีความน่าสนใจ  มีสีสันที่โดดเด่น  มีภาพเสียง  ภาพเคลื่อนไหว  วีดิโอ  สิ่งเหล่านี้จะดึงดูดความสนใจของผู้เรียน  ไม่ทำให้ผู้เรียนเบื่อและสนใจในบทเรียนได้เป็นอย่างดี
              
1.7
การประเมินในศตวรรษที่ 21 การประเมินผล ที่แท้จริงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21การประเมินนี้ต้องวัดผลลัพธ์สำคัญห้าประการ ได้แก่ วิชาแกน เนื้อหาสำหรับศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และการคิด ความรู้ พื้นฐานไอซีที และทักษะชีวิต การประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ควรทำควบคู่ไปกับการประเมินวิชาแกนเพราะการประเมินที่แยกขาดกันจะบั่นทอน เป้าหมายในการหลอมรวมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้ากับวิชาแกน เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยการประเมินให้มีประสิทธิผล มีความยั่งยืน และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง แบบทดสอบมาตรฐานเพียงอย่างเดียวใช้วัดทักษะและความรู้ที่เรียนได้ไม่กี่ อย่าง การประเมินต้องผสมผสานให้สมดุลระหว่างแบบทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพ กับการประเมินในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิผลจึงจะเกิดเป็นเครื่องมืออันทรง พลังสำหรับครูและนักเรียนในการเรียนรู้เนื้อหาและทักษะที่จำเป็นต่อความ สำเร็จ
         
2. เครื่องมือ(Tool)
          เครื่องมือ  หมายถึง  สื่อ  อุปกรณ์และสภาพต่างๆในห้องเรียน   เพื่อให้เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 สื่อที่ใช้ต้องมีความทันสมัย  สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนก็เช่นเดียวกัน  ต้องมีอุปกรณ์ให้สอดคล้อง  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โปรเจคเตอร์  จอภาพ  หรือ Tablet เป็นต้น 
               การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนต้องคำนึงถึงหลัก
3 ข้อคือ
                 
1) ทางกายภาพ  ซึ่งได้แก่  การดจัดวางโต๊ะ  เก้าอี้
                 
2) ทางจิตใจ  คือ  การทำอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดความสบายใจ  และรู้สึกตื่นตัวในการเรียนเสมอ
                 
3) ทางสังคม  คือ  การจัดให้ผู้เรียนได้มีการพูดคุยกัน  แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันเป็นต้น
          ส่วนสื่อเทคโนโลยีที่ใช้  ควรมีความทันสมัย  ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ได้แก่ 
CAI  , E-Learning  เป็นต้น  และสื่อการเรียนแบบใหม่ที่รัฐกำลังจัดสรรให้เด็กนักเรียนได้ใช้กันและกำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมากในตอนนี้ก็คือ  Tablet  ไม่นานเด็กนักเรียนไทยคงได้ใช้กัน
ตัวอย่าง  การนำเทคโนโลยีมาใช้การเรียนการสอนในศตวรรษที่  21
          ในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียน ผู้สอน  ใช้เทคโนโลยีเพื่อ การสืบค้น  การนำเสนอ และสื่อสาร กันเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไร้พรมแดน นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนๆ และครูต่างโรงเรียน  ต่างประเทศ ได้ทั่วโลกวันนี้กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก  สร้างเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ครูและนักเรียนสามารถศึกษาเงื่อนไขแล้วใช้งานได้แล้ววันนี้  โดยอินเทล สร้างเว็บไซต์ชื่อ  ครูสอนดี  http://krusorndee.net/
          โรงเรียนบางละมุงนำเทคโนโลยี Web 2.0 เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้  นักเรียนและครูใช้เว็บไซต์เป็นห้องเรียนออนไลน์ Web 2.0 ดีกว่า Web 1.0 มากเพราะ Web 1.0 เป็นการนำเสนอที่คนส่วนน้อยนำเสนอและคนส่วนใหญ่เป็นผู้รับสารอย่างเดียว  Web 2.0เป็น เว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารกันได้สองทาง โดยมีเจ้าของเว็บไซต์เป็นผู้กำหนดสิทธิ์ในการใช้งาน มีเครื่องมือที่สนับสนุนกิจกรรมการเรียนมากมายทั้งค้นคว้า  สื่อสาร  นำเสนอ  สนับสนุนสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตร 2551 และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนวางแผนในการใช้เทคโนโลยีเป็น 5 ขั้นตอน คือ
          1.ขั้นเตรียมการ (Introduction) เป็น ขั้นเตรียมนักเรียนให้พร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กิจกรรมการเรียน การสอน การดำเนินการในขั้นตอนนี้จะทำให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ใน ขั้นต่อๆไปตามที่ออกแบบไว้  ปรับพื้น ฐานนักเรียนให้สามารถใช้เครื่องมือเว็บ 2.0 ได้  ใช้อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม รู้เท่าทันภัยที่มากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  และไม่สร้างปัญหาให้กับเพื่อน ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ครูไอซีทีแนะนำการใช้เทคโนโลยีให้เพื่อนครูสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
          2.ขั้นจัดเตรียมข้อมูล (Provide Resources) เป็น การให้แหล่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำภารกิจให้สำเร็จทั้งแหล่งข้อมูลบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตและที่ครูจัดเตรียมประกอบไว้เพิ่มเติม และแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาและหาคำตอบได้  ครูผู้สอนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้บนเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมกับหน่วยการเรียนรู้
          3.ขั้นกระบวนการ (Process) เป็น ขั้นการวางแผน กระบวนการและกิจกรรมเพื่อให้บรรลุภารกิจที่วางไว้ มีกิจกรรมที่นำไปสู่ความคิดขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์    และขั้นประเมินผล เป็นกิจกรรมที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ครูออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ใช้คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ (Intel Teach) มาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ ครูและนักเรียนใช้เครื่องมือบนเว็บ 2.0 ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
          4.ขั้นสรุป (Conclusion) เป็น ขั้นให้นักเรียนทำการสรุปความคิดรวบยอดที่นักเรียนหรือกลุ่มของนักเรียนได้ ร่วมกันแสวงหาความรู้ หาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา ใช้เครื่องอภิปรายบนเว็บ 2.0  ทำกิจกรรมร่วมกัน
          5.ขั้นประเมินผล (Evaluation) ในขั้นนี้ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Evaluation Rubrics) เป็นขั้นการประเมินว่านักเรียนสามารถหาคำตอบและบรรลุวัตถุประสงค์    ที่ตั้งไว้เพียงใด จะเน้นการวัดผลอย่างแท้จริง (Authentic Assessment) ในรูปของการประเมินเชิงมิติ (Rubrics) ที่ มีการวางเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน บางโครงงานครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ประเมินการใช้เครื่องมือ  ครูภาษาไทยประเมินการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ครูประจำวิชาประเมินเนื้อหาของโครงงาน
      การใช้เทคโนโลยี Web 2.0 เป็น ส่วนหนึ่งของการปรับทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีนักเรียนเข้าใหม่ ม.1 และ ม.4  ไม่ได้ใช้เป็นหลักสูตรในการเรียนการสอน  เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือช่วยครูสอน แต่ไม่ได้เป็น ครูแทนคน
          3. การจัดการ(Management)
               3.1 บทบาทของผู้สอนในศตวรรษที่ 21
                  
- ผู้สอนต้องเป็นผู้ดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน
                  
- ต้องมีความยืดหยุ่น
                  
- ต้องมีการเคลื่อนไปข้างหน้าตลอด  อย่าหยุดอยู่กับที่
                   - มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอนอย่างลึกซึ้ง
              - มีความรู้และเชี่ยวชาญในการสอน
              - สามารถพัฒนาหลักสูตรได้,
              - วางแผนการสอนและแบบเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
              - มีการคิดค้น ดำเนินการสอนที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
              - ให้นักเรียนเรียนรู้จากการสืบเสาะหาความรู้
              - ช่วยให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของวิทย์ คณิต และเทคโนโลยี
                   - เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาเจตคติทักษะต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
               3.2  ลักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

                                - 
เป็นนักคิดวิเคราะห์
                                -  เป็นนักแก้ปัญหา
                                -
เป็นนักสร้างสรรค์
                        - เป็นนักประสานความร่วมมือ
                        - รู้จักใช้ข้อมูลและข่าวสาร
                        - เป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง
                        - เป็นนักสื่อสาร ครูพูดน้อยและเด็กพูดมาก
                        - ตระหนัก รับรู้สภาวะของโลก
                        - เป็นพลเมืองทรงคุณค่า
                   - มีพื้นฐานความรู้เศรษฐกิจและการคลัง
        สรุป  การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21  เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน  โดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการออกแบบ  เครื่องมือและการจัดการในรูปแบบใหม่  ลักษณะการสอนเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง  ความรู้เกิดจากการลงมือกระทำ  ผู้สอนสอนแบบบรรยายน้อยลง  ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง 
        การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 
21 นี้  มีแนวโน้มที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น  เพราะได้มีการปรับปรุงในหลายๆด้าน  เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน  หากแต่  การที่จะพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยให้ไปในทางที่ดีขึ้น  ต้องอยู่ในพื้นฐานของความเหมาะสม  ถ้ารัฐยังเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีใหม่ๆมา  แต่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมทั้งในเรื่องหลักสูตร  ปัญหาด้านงบประมาณและบุคลากรอยู่  อีกทั้งปัญหาในตัวเด็กนักเรียน  การศึกษาไทยก็ยังคงย่ำอยู่กับที่และถึงแม้จะพัฒนาไปได้ในระดับหนึ่ง  แต่เรื่องคุณภาพก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป
                                                                                         เรียบเรียงโดย  ปัจฉิมาพร  ศรีตาแสง

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

                                                  ร้านอาหาร ญ้อภูไท



    ร้านอาหารญ้อภูไท  เป็นร้านอาหารที่อยู่บริเวณตรงข้ามธนาคารกรุงไทย  สาขามมส.ใหม่  มีบริการอาหารที่เลิศรสไม่ว่าจะเป็นอาหารไทยหรืออาหารพื้นบ้านและเมนูทีเด็ดของทางร้านคือ"อ่อมหวาย"
นอกจากนั้นยังมีเครื่องดื่มบริการสำหรับผู้ที่ต้องการผ่อนคลายจากความเครียด  และทางร้านยังมีดนตรีสดให้ได้เพลิดเพลินใจอีกด้วย


บรรยากาศภายในร้าน







          และวันนั้นดิฉันได้มีโอกาสไปรับประทานอาหารที่ร้านญ้อภูไทก็เลยขอแจมด้วยการร้องเพลงกับนักดนตรีของทางร้าน  เป็นกันเองมากๆค่ะ


      ถ้าว่างๆขอเชิญมาชิมร้านอาหารญ้อภูไทนะคะ ส่วนใครอยากติดต่อกับทางร้านก็สามารถติดต่อได้ทาง Facebook พิมพ์ ญ้อภูไท ไนท์  ที่ช่องค้นหาเลยนะคะ
      ประเพณีสงกรานณ์ประจำปี 2555 ดิฉันได้ไปเที่ยวที่ อ.ท่าคันโท  จ.กาฬสินธุ์  ซึ่งเป็นบ้านญาติของดิฉันเอง  ในวันแรกก็เล่นน้ำสงกรานต์กับเด็กๆที่เป็นหลานๆอายุ 5-8 ขวบ  ดิฉันไม่ได้เล่นน้ำหรอกนะคะ ส่วนมากจะเป็นแผนกดูแลความปลอดภัยของเด็กๆเค้านะค่ะ


      วันต่อมา บรรดาลูกหลานและญาติพี่น้องก็เตรียมน้ำหอมเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  วันนี้อบอุ่นกันมากๆเลยค่ะ  นอกจากจะได้พบปะญาติที่อยู่กันคนละที่แล้ว  ยังไม่ร่วมกันรับประทานอาหารเย็นด้วยกันด้วย สรุปสงกรานต์ปีนี้ แม้ดิฉันจะไม่ค่อยเปียกเท่าไหร่แล้ว  แต่ก็ยังอบอุ่นหัวใจด้วยไอรักจากครอบครัวมาเติมเต็ม เอาเป็นว่าปีนี้ไม่ได้เล่นปีหน้าจัดเต็มแน่นอน^__^
                                           ปล. น้องเจเจกับอาเฟิร์นน่ารักมาก

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

"เมย์" วีนแตก "แฟนคลับBig Bang" กระหน่ำด่าผ่านทวิตเตอร์

        แฟนคลับ K-pop อย่างวง Big Bang กระหน่ำด่า เมย์ พิชญ์นาฏ ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะทวิตเตอร์ จนเจ้าตัวฟ้องร้องขั้นต้นแต่ถ้ายังไม่จบ เตรียมฟ้อง ICT ต่อไป และชี้แจงกับเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เคยไปเฝ้าศิลปินหน้าโรงแรมแน่นอน ท้าให้ไปตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่คอนโดฯ ได้ ส่วนตัวแล้วไม่รู้ว่าศิลปินพักที่โรงแรมไหน ข่าวยังไม่หมด ออกมาปัดมีปัญหากับนางแบบก้านยาว

ฟ้อง ร้องเป็นอย่างไร ? "จริงๆ เมย์ไม่อยากให้เป็นเรื่องใหญ่ค่ะ ก็อย่างที่รู้กัน จริงๆ เมย์เป็นคนชอบดูคอนเสิร์ตมาก แล้วก็ดูเกือบทุกวงเลย ทั้งคอนเสิร์ตไทย คอนเสิร์ตต่างประเทศ และ คอนเสิร์ตเกาหลี  ก็ชอบหลายๆ วง ดูเกือบหมด Super Junior วงผู้หญิงก็ดู Girls' Generation ก็ดู จนมาถึงอีเวนต์หนึ่ง ก็มีพี่ีคนหนึ่งเขาทำงานที่นั่นก็แบบ ชวนเข้ามาดูไหมวงนี้ เห็นเธอชอบพวกเกาหลี และก็เห็นว่าใกล้บ้านก็เลยไปดูที่เซ็นทรัลเวิลด์ เราดูเสร็็จก็คือยังดูไม่จบด้วยซ้ำแล้วก็กลับก่อน เพราะมันร้อนค่ะ แต่พอวันรุ่งขึ้นก็มีเด็กเข้ามาถามเราในทวิตเตอร์แบบแปลกๆ ถามเหมือนแบบกัดเรา ว่า ทำอะไรแบบนั้้น ไม่ดีหรือเปล่า อะไรอย่างนี้เราก็เลยรู้สึกงง นิดหนึ่ง ตอนเเรกก็พยามยามนิ่งๆ เพราะคิดว่าเขาคงเข้าใจผิด

       แต่พอมันนานเข้าแล้วมันไม่จบ เพราะว่ามันมีคนมากระหน่ำเราด้วยคำหยาบคายทุกวัน จนเรารู้สึกทนไม่ไหว เราก็เลยต้องเช็กว่า คือเกิดอะไรขึ้น ก็เลยมีน้องๆ แฟนคลับของเราเองที่เขาเช็กมาแล้วก็บอกเรา ว่าเหมือนมีคนให้ข่าวว่าเราได้ไปทำ แบบอะไรที่มันไม่ดี ซึ่งมันไม่เป็นความจริง เพราะว่าเราดูคอนเสิร์ตแค่ 2 ทุ่มครึ่ง แล้วเราก็กลับแล้ว และเราไม่ได้ไปไหนต่อด้วย เมย์ก็บอกเลยว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมันไม่จริง และมันก็สร้างความเสียหายกับเรามาก เพราะหนึ่งคือ แฟนคลับเป็นเด็กที่ไม่รู้เรื่องและรักศิลปินเขานั้น เขาก็เข้าใจผิด คิดว่าเราจะไปทำอะไรแบบนั้นหรือเปล่า เพราะบางทีทำให้มาเกลียดเราแล้วก็มาด่าเราเสียๆ หายๆ แบบนี้ก็เลยรู้สึกว่าอยากจะให้คนกลุ่มนั้นหยุุดซะ ถ้าหยุดทุกอย่างก็จะจบค่ะ เมย์แค่แจ้งความในเบื้องต้นยังไม่ได้ฟ้อง ICT แต่ว่ายังไม่จบก็คงต้องให้กฎหมายจัดการต่อไป ในส่วนที่จะเป็นเรื่องจะทำเลิกชอบศิลปินเกาหลีไหม เมย์คิดว่ามันไม่น่าจะเกี่ยวนะ เพราะว่าทำไมทุกคนชอบได้แล้วทำไมเมย์ชอบไม่ได้ มันเป็นสิทธิ์ของเรา เราแค่ชอบเอง ก็ชอบจริงๆ ก็ไปดูจริงๆ แต่ไม่ได้ไปทำอะไรที่ไม่ดีค่ะ"
      หรือ บอกว่าเป็นหนักขนาดที่ว่าเราไปเฝ้าศิลปินเกาหลีหน้าโรงแรมอย่างที่เขาเม้าท์ กัน? "ใช่ค่ะ ถ้าไม่หยุดหรือสงสัยมาถามได้เลย หรือไปเช็กกล้องวงจรปิดที่คอนโดฯ ก็ได้ แล้วเมย์ก็ไม่รู้ว่าศิลปินเขาอยู่โรงแรมอะไรด้วยซ้ำ ไม่รู้จักกับศิลปินพวกนี้เลย ชอบดูคอนเสิร์ตอย่างเดียวค่ะ ไม่ได้ตามผู้ชายหรืออะไรอย่างนี้ คือเช็กได้ทุกอย่างบริสุทธิ์ใจพร้อมพิสูจน์ และขอให้หยุดค่ะไม่อยากมีเรื่องอะไรกับใคร"
       เหมือนกับไปว่าแฟนคลับ Big Bang ? " สำหรับแฟนคลับ Big Bang เราไม่รู้ว่าคนที่ตั้งประเด็นนี้ขึ้นมาเขาอาจจะเกลียดเราส่วนตัวหรือเปล่า เขาพยายามให้น้องๆ เข้าใจผิดหรือเปล่า ก็อยากจะบอกว่าสบายใจได้ค่ะเมย์ไม่ได้ทำอะไรแบบนั้น คืออายุเท่านี้แล้ว แล้วก็เพื่อนก็แต่งงานกันหมดแล้ว และก็เป็นผู้หญิงมีพ่อมีแม่ มีหน้าที่การงาน มีชื่อเสียง จะไม่เอาอะไรไปแลกกับเรื่องแบบนั้นแน่นอนค่ะ ก็ขอให้หยุดเถอะค่ะ ถ้าหยุดทุกอย่างก็จะจบ "
        แล้วตอนนี้มีคนตามดูไหม คะ ? "ก็มีค่ะมีคนดูพฤติกรรมของพวกเขาอยู่ค่ะ ถ้าเราหยุดๆ สงบๆ ก็โอเคค่ะ มันเป็นคนกลุ่มเล็กๆ ไม่อยากเหมาเพราะแฟนคลับ Big Bang น่ารักๆ เข้ามาคุยดีกับเรามียิ้มเยอะมาก จริงๆ แล้วศิลปินเกาหลีอย่างนี้เราก็ชอบดูดีจริงๆ ไม่ปฏิเสธค่ะ"
ได้ข่าว ว่ามีปัญหากับนางแบบก้านยาว? "พี่โย เมย์ไม่มีนะคะ เมย์ไม่รู้ว่าใครเป็นเขียนข่าวนั้น แล้วเมย์ก็ไม่รู้ว่างานเดินแบบนั้นเมย์จะไปใส่ชุดของเขา สุดท้ายที่สุดเมย์ก็ไม่ได้ใส่ชุดของเขา ก็ที่เขาหยิบมาให้เรา แบบว่าพอเราไปถึงก็ให้เราฟิตติ้ง พอเราฟิตติ้งเสร็จไม่มีอะไร สักพักน้องเมย์เดี๋ยวเปลี่ยนชุดให้ใส่ชุดนี้นะชุดสีแดงที่ลงหน้า 1 เยอะๆ สุดท้ายเราก็ไม่ได้ใส่ชุดพี่โย แต่เราก็ไม่รู้ว่าเขาจะโกรธ จะงอนเราหรือเปล่า ที่ตอนแรกเราใส่ชุดของเขา ซึ่งเราไม่รู้จริงๆ ก็ถ้าเกิดว่าพี่โยจะงอนหรืออะไรก็ขอโทษแล้วกันเพราะว่าเมย์ไม่ได้ตั้งใจ แต่วันนั้นเมย์ก็ไม่เห็นเขาจะโกรธอะไรเมย์ แล้วก่อนกลับเขาก็ยังยิ้มให้เมย์ ทักทายปกติ คิดว่าน่าจะเป็นข่าวที่มั่วมากกว่า"  มีการแย่งกัน?" ไม่ได้แย่งค่ะชุดที่เด่นที่สุดคือชุดที่เมย์ใส่ค่ะ".


โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
22 เมษายน 2555, 14:15 น.